Activities

“การเจริญสติไปกับโยคะ ครั้งที่ 7” วิทยากร โดย ครูดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา

"การเจริญสติไปกับโยคะ ครั้งที่ 7" วิทยากร โดย ครูดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา ที่จัดขึ้นในวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

Read more

News

“คริสเปอร์-แคส” CRISPR-Cas (Clustered regularly interspaced short palindromic repeat – CRISPR-associated proteins)

  ระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้มีแค่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงหรือมนุษย์เท่านั้น แต่สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่มีศัตรูหรือเชื้อโรคที่สามารถทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นป่วยหรือตายได้ สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ก็จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัว เพื่อทำให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้   เช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูง แบคทีเรียก็มีระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถปกป้องตนเองจากศัตรูได้ โดยศัตรูดังกล่าว คือ แบคเทอริโอเฟจ หรือ เฟจ ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ของแบคทีเรียและฆ่าแบคทีเรียได้ โดยแบคทีเรียมีระบบภูมิคุ้มกันทั้งภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดและ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ โดยระบบภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะสามารถเข้าทำลายสารพันธุกรรมของเฟจระหว่างกระบวนการติดเชื้อของเฟจและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเฟจภายในเซลล์ ส่งผลให้แบคทีเรียรอดชีวิตและสามารถดำรงชีพต่อไปได้   CRISPR-Cas (Clustered regularly interspaced short palindromic repeat - CRISPR-associated proteins) อ่านว่า “คริสเปอร์-แคส” เป็นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะของแบคทีเรีย โดย CRISPR-Cas จะสามารถจดจำและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเฟจได้ กล่าวคือ เมื่อเฟจฉีดสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์ของแบคทีเรียเพื่อเริ่มกระบวนการติดเชื้อ...

Read more